ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

กลยุทธ์การปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษ


กลยุทธ์การปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษ  เป็นการปลูกผักไว้ทานเองในครอบครัว โดยไม่ใช้สารเคมีในการกำจัดแมลงและวัชพืช  ซึ่งในสมัยนี้ผักที่วางขายตามท้องตลาดมีสารเคมีตกค้างค่อนข้างมาก  ทำให้เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค   การปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักปลูกพืชผักไว้กินเองจะช่วยประหยัดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ในครอบครัวสอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของในหลวง
             ช่วงปัจจุบันสภาพปัญหาทางเศรษฐกิจส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพของผู้บริโภคอย่างมาก  รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย   ผู้ปกครองไปรับจ้างต่างจังหวัดทิ้งลูกอยู่บ้านกับตายายรอรับเงินช่วงสิ้นเดือน   ซึ่งเป็นมูลเหตุทำให้เด็กไม่รู้จักวิธีการทำงาน  วิธีเพิ่มรายได้ในครอบครัว
กิจกรรมการปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษในโรงเรียนจะทำให้ผู้เรียนได้เรียนวิธีการปลูกการดูแลรักษาโดยไม่ใช้สารเคมี  เป็นกิจกรรมที่นักศึกษาสามารถนำไปปฏิบัติที่บ้านได้
          จังหวัดสุรินทร์   มีพื้นที่ที่เหมาะในการปลูกพืชผักได้ตลอดปี   สภาพดินบริเวณแปลงเกษตรเป็นดินเหนียวเพราะนำดินที่ขุดจากสระมาถมพื้นที่แปลงเกษตร   ได้ปรับปรุงแก้ไขโดยใส่แกลบสดแกลบเผา  ปุ๋ยคอก  ปุ๋ยหมัก  สภาพของดินดีขึ้น   ในช่วงหน้าฝนปลุกข้าวโพด   มะเขือ   ถั่ว    ปลายฤดูฝนปลูกพืชผักตามฤดูกาล   นักเรียนที่ปฏิบัติการปลูก   ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่   5  ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่   3   โดยแบ่งแปลงให้แต่ละชั้นรับผิดชอบ
        ในการปฏิบัติหน้าที่ปลูกในช่วงฤดูฝนให้เด็กนักเรียนชั้น   ม. 1 - 3  ลงปฏิบัติ   ส่วนชั้น  ป. 5 - 6   ลงปฏิบัติช่วงปลายฤดูฝน   ขณะลงปฏิบัติงานให้ครูบาอาจารย์ประจำชั้นช่วยควบคุมดูแลโดยแบ่งให้รับผิดชอบแปลงละ   2 - 3   คน  ปลูกผักหมุนเวียนตลอดปีการศึกษา
       กิจกรรมการปลูกสวนครัวปลอดสารพิษฝึกให้นักเรียนมีความรับผิดชอบ  มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  รู้จักช่วยเหลือเพื่อน    มีความรู้ความเข้าใจวิธีการปลูกผักปลอดสารพิษ  รู้จักใช้วัสดุที่มีในท้องถิ่นให้เกิดผลกำไรและสามารถนำไปปฏิบัติที่บ้านได้

   การปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษทำให้ชีวิตปลอดภัยจากสารเคมี  ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว   นักเรียนสามารถนำไปปฏิบัติที่บ้านเป็นแบบอย่างในที่สาธารณะได้
การป้องกันและกำจัดศัตรูพืชผัก เพื่อให้ได้ผลผลิตพืชผักที่ปลอดภัยจากสารพิษ ควรใช้หลาย ๆ วิธี ผสมผสานกัน ทั้งวิธีกล การใช้สารชีวินทรีย์ สารธรรมชาติ และสารเคมีร่วมกันในการป้องกันกำจัดควบคู่กันไปกับการจัดการที่ดี
การเก็บเกี่ยวผลผลิต ควรเก็บในระยะที่มีอายุแก่เหมาะสม ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของพืชผัก เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณค่าทางอาหาร รสชาติ และรูปพรรณรูปร่าง สีสัน ความสุกเหมาะสมและดีที่สุด เมื่อถึงมือผู้บริโภค การเก็บเกี่ยวควรทำด้วยความระมัดระวัง อย่าให้เกิดร้อยช้ำ รอยขีดข่วน เพื่อรักษาคุณภาพให้ดีที่สุด การสูญเสียของพืชผักหลังการเก็บเกี่ยวมีสูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขอบเขตอากาศร้อนของประเทศไทย ผักกินใบเป็นผักที่เน่าเสียได้ง่าย โดยเฉพาะหากในระหว่างเก็บเกี่ยวผักมีการ บอบช้ำ ฉีกขาด หรือเป็นแผลจากการเก็บเกี่ยว และการขนย้ายที่ไม่ดีทำให้เชื้อโรคต่าง ๆ เข้าทำลายง่ายดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันการสูญเสียของพืชผักควรต้องมีการปฏิบัติอย่างถูกต้องและเหมาะสมทั้งก่อนการเก็บเกี่ยว และหลังการเก็บเกี่ยว
การรักษาคุณค่าผลผลิตพืชผักเบื้องต้นในแปลงหลังการเก็บเกี่ยวแล้ว ควรจะรีบนำเข้าที่ร่ม อย่าให้ตากแดด แล้วเร่งระบายความร้อนภายในผลผลิตลง โดยการแผ่ออก อย่าวางสุมทับซ้อนกัน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สวนกล้วยไม้แย้มประยูร จ.พระนครศรีอยุธยา

พระนครศรีอยุธยา 5 ม.ค.-เกษตรกรชาว จ.พระนครศรีอยุธยา เริ่มต้นปลูกกล้วยไม้เพียง 2 ไร่ ได้ผลดีมีลูกค้าทั้งในประเทสและนอกประเทศเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนขยายเป็น 100 ไร่   คุณลุงมานิตย์ แย้มประยูร เกษตรกร วัย 76 ปี เริ่มต้นจากใจรักใน กล้วยไม้ ลงทุน ปลูกกล้วยไม้ กับเงินทั้งหมดที่มีอยู่ 4,000 บาท บนที่ดิน 2 ไร่ เพราะความขยัน อดทนทำให้คุณลุงมีลูกค้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนสามารถขยายจาก 2 ไร่ เป็น 100 ไร่ พัฒนาขยายสายพันธุ์ใหม่จนสร้างชื่อเสียงระดับโลก สร้างรายได้หลักแสนบาทต่อเดือน   คุณลุงมานิตย์ บอกว่า ปกติ กล้วยไม้ นิยมขยายพันธุ์โดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ หรือเพาะเมล็ด เพราะทำให้เกิดต้นกล้าจำนวนมาก เติบโตสม่ำเสมอ และปลอดโรคใช้เวลาในการเติบโตแตกต่างกันประมาณ 1 -3 ปี แล้วแต่ชนิดพันธุ์และสูตรอาหาร   ตลาดส่งออกกล้วยไม้ตัดดอกที่สำคัญ ได้แก่ ตลาดยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น เวียดนามและเมียนมาร์ ซึ่งสีสันที่แต่ละภูมิภาคชื่นชอบก็จะแตกต่างกันไป อย่างยุโรปจะชื่นชอบกล้วยไม้สีแดง ส่วนตลาดญี่ปุ่นจะชื่นชอบกล้วยไม้สีม่วง ขณะที่การเปิดประชาคมอาเซียนเป็นอีกโอกาสในการขยายตลาดของ กล้วยไม้ไทย ...

เกษตรอินทรีย์ : ลู่ทางใหม่ของเกษตรกรไทย

เกษตรอินทรีย์ : ลู่ทางใหม่ของเกษตรกรไทย การทำเกษตรกรรมของไทยมักเผชิญปัญหาการขาดทุนตามที่ เครื่องปั่นไฟ ราคาสูงขึ้น ซึ่งหนึ่งในที่มาของปัญหานี้เกิดจากรายจ่ายในการจัดซื้อสารเคมีจำนวนมาก มาใช้เพื่อเร่งผลผลิต อย่างไรก็ตาม หากผลผลิตที่ได้มีราคาตกต่ำ การขาดทุนก็ยังคงมีอยู่อย่างไม่จบไม่สิ้น ในล่าสุดกระแสการดูแลรักษาสุขภาพของประชากรโลกเริ่มมีมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคหันมาใส่ใจในการเลือกซื้ออาหารที่ปลอดภัยและปราศจากสารเคมีต่าง ๆ ที่เป็นพิษต่อร่างกาย ด้วยเหตุนี้เกษตรกรหลายรายจึงคิดหาวิธีการทำเกษตรกรรม แนวใหม่ เรียกว่า เกษตรอินทรีย์ (Organic Agriculture) โดยใช้ เครื่องปั่นไฟมือสอง เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตและได้ผลผลิตที่เป็นที่ต้องการของตลาด โดยการพยายามประยุกต์ใช้ธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดการใช้ปัจจัยการผลิตภายนอกและหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ ซึ่งวิถีทางการทำเกษตรแนวนี้จะไม่เป็นอันตรายต่อทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค เกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย สหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (International Federation of Agriculture : IFOM) ให้คำนิยามของเกษตรอินทรีย์ว่าเป็น “ระบบการเกษตรที่ผลิตอาหารและเส้นใ...

ตอนที่2 วิธีการปลูกมะละกอพันธุ์ไหนดีจึงจะมีตลาดขาย

ตอนที่2 วิธีการปลูกมะละกอพันธุ์ไหนดีจึงจะมีตลาดขาย -มะละกอพันธุ์ครั่ง เป็นมะละกอดิบหรือส้มตำพันธุ์ใหม่ที่ใช้ยาฆ่าแมลงและใช้ เครื่องพ่นยา น้อย และที่มีผู้รายงานข่าวทำข่าวกันมากจนทำให้เกษตรกรปลูกกันในหลายภาค โดยชูจุดดีตรงที่เนื้อกรอบ หอม หวาน อร่อย หลังเก็บจากต้นแล้ว สดอยู่ได้นานกว่าพันธุ์อื่น 5-6 วันก็ยังไม่เหี่ยว และบอกว่าทนทานไวรัสจุดวงแหวนได้ดี(อันนี้จริงเปล่าไม่รู้) แต่ข้อเสียก็คือ ผลมีร่องทำให้เวลาปอกเปลือก เปลือกสีเขียวจะติดอยู่ในร่องนั้น ขูดเส้นยาก ตอนนี้เริ่มมีปัญหาด้านตลาดแต่นักค้นคว้าก็ยังเพิ่งเปิดตัวครั่งพันธุ์ใหม่เนื้อเหลืองไปเมื่อเดือนที่แล้วอีกซึ่งครั่งเนื้อเหลืองจะทำให้เส้นส้มตำน่ากินมากขึ้น นักข่าวประโคมข่าวอีกเช่นเดิมแต่ปัญหาร่องที่ผลจะทำให้แม่ค้ายอมรับได้แค่ไหนต้องติดตามกันต่อไป