ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ปรับทำเลไม่ดีทำเกษตรทางเลือก ระวัง!ซ้ำเติมชาวนา!

หากดูข้อมูลตัวเลขผลผลิตข้าวในโลกนี้ของ ผศ.ดร. อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ที่เคยตีพิมพ์ วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ระบุว่า ผลผลิตข้าวต่อไร่ของไทยในฐานะที่เคยครองแชมป์การส่งออกข้าวไปยังตลาดโลกมายาวนานกว่า 30 ปีนั้น กลับมีผลผลิตต่อไร่ที่ต่ำเพียงไร่ละ 447.0 กก. อยู่อันดับที่ 13 ของเอเชีย และอันดับที่ 7 ของอาเซียน

            ในกลุ่มประเทศอาเซียนนั้น เวียดนามครองผลผลิตต่อไร่มากที่สุดประมาณไร่ละ 853.0 กก. อยู่อันดับ 4 ของเอเชีย รองจาก เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และจีน ตามด้วยอินโดนีเซียไร่ละ 779.2 กก., ฟิลิปินส์ 616 กก./ไร่ มาเลเซีย 592 กก./ไร่ ,ส.ป.ป.ลาว 588 กก./ไร่ และกัมพูชา 454.4 กก./ไร่ ตามด้วยไทย

อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงของผลผลิตข้าวต่อไร่ของไทยที่ได้ผลผลิตต่ำนั้น เนื่องจากมีการประเมินพื้นที่ทำนาทั่วประเทศ ซึ่งบางพื้นที่เป็นดินที่ขาดความสมบูรณ์ หรือพื้นที่ไม่เหมาะในการที่จะทำนา ที่ได้ผลผลิตต่ำ อาทิ ในพื้นที่ดินเค็มในภาคอีสาน ที่ดินเปรี้ยว ขณะที่การทำนาในเขตชลประทานของไทยโดยเฉพาะเขตลุ่มน้ำเจ้าพระพยาให้ผลผลิตสูงถึงไร่ละ 800-1,000 กก./ไร่


           จากปัญหาที่เกิดขึ้น ล่าสุดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ปรับยุทธศาสตร์ใหม่ในการทำนา เพื่อเสนอไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.)ให้ผลักดันโครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวไม่เหมาะสมเป็นเกษตรกรรมทางเลือกอื่น เบื้องต้นใน 30 จังหวัด รวมพื้นที่พื้นที่ 4.2 แสนไร่ โดยกระทรวงเกษตรฯพร้อมที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการผลิตพืช สัตว์ ประมง และงบอุดหนุนในการปรับปรุงพื้นที่ รวมทั้งค่าปัจจัยการผลิตหวังกระตุ้นเกษตรกรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นต้น

           พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ชี้แจงว่า สภาพปัจจุบันการผลิตข้าวมากกว่าความต้องการของตลาด จึงได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตรดำเนินโครงการเปลี่ยนเป็นเกษตรกรรมทางเลือกอื่น มีเป้าหมายเพื่อปรับเปลี่ยนพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมไปปลูกพืชอื่น ทั้งการปรับเปลี่ยนเป็นการปลูกพืชเชิงเดี่ยวหรือเกษตรผสมผสาน โดยจะมีการจัดการด้านการผลิตและบริหารจัดการเรื่องการตลาดควบคู่กันไป

          สำหรับแนวทางพัฒนาการส่งเสริมปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวที่ไม่เหมาะสมเป็นเกษตรกรรมทางเลือกอื่น ถือเป็นแนวทางหนึ่งในการช่วยเหลือชาวนานั้น โดยการปรับเปลี่ยนจากการปลูกข้าวไปปลูกพืชที่เหมาะสมกับพื้นที่ ตามสภาพพื้นที่และสอดคล้องกับความต้องการของตลาด มีการจัดแบ่งพื้นที่เพื่อการผลิตพืชชนิดต่าง ๆ ตามความต้องการตลาด รวมทั้งการเลี้ยงสัตว์เล็ก อาทิ เป็ด ไก่ และการประมง เพื่อการบริโภคของครัวเรือนควบคู่กันไป เพื่อให้เกษตรกรมีผลตอบแทนที่เพียงพอ ที่สามารถดำรงชีวิตและประกอบอาชีพการเกษตร สร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนได้

ส่วน นายโอฬาร พิทักษ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร บอกว่า โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวไม่เหมาะสมเป็นเกษตรกรรมทางเลือกอื่นให้ชาวนา มีเป้าหมายดำเนินการในพื้นที่ 30 จังหวัด ในพื้นที่ 4.2 แสนไร่ มีชาวนา 8.4 หมื่นครัวเรือน ยกเว้นภาคกลางและภาคใต้ โดยรูปแบบการดำเนินโครงการ พิจารณาจากพื้นที่ความเหมาะสมกับศักยภาพ การผลิตของพื้นที่และเกษตรกร และจัดทำบัญชีรายชื่อเกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม

         จากนั้นตรวจสอบพื้นที่และเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้าร่วมโครงการ พร้อมทั้งจัดทำคู่มือสำหรับเจ้าหน้าที่ กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการเข้าร่วมโครงการ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานโครงการต่อไป โดยทางกรมส่งเสริมการเกษตรจะถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการผลิตและการตลาดพืชทางเลือก อาทิ การจัดทำแผนการผลิตและการตลาด การถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีการผลิตพืช สัตว์ ประมง รวมทั้งจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

         “โครงการนี้ได้เตรียมเสนองบประมาณดำเนินการ กว่า 2,610 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินอุดหนุนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายปรับปรุงพื้นที่ สร้างระบบน้ำ และปัจจัยการผลิต ไร่ละ 5,000 บาท เงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในระหว่างการปรับเปลี่ยนพื้นที่ เพื่อลดค่าใช้จ่ายและมีอาหารบริโภคในครัวเรือน โดยเป็นค่าใช้จ่ายเลี้ยงปลา ครัวเรือนละ 2,300 บาท และค่าใช้จ่ายการเลี้ยงสัตว์เล็ก ครัวเรือนละ 2,844 บาท จะจ่ายผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) คาดจะสามารถเริ่มดำเนินการในพื้นที่ปลูกข้าวนาปี 2559/60” นายโอฬาร กล่าว

         ด้าน นส.พ.ไพโรจน์ เฮงแสงชัย รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า ทางกรมปศุสัตว์ได้เร่งขับเคลื่อนโครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่เกษตรไม่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงโคและกระบือ ตามแผนที่เกษตรเพื่อบริหารจัดการเชิงรุกหรืออะกริแม็ป โดยใช้งบประมาณโครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกรตามพระราชดำริ ซึ่งปี 2559 นี้ มีเป้าหมายนำร่องส่งเสริมเกษตรกรใน 13 จังหวัด ได้แก่ ชัยภูมิ บุรีรัมย์ อุทัยธานี นครราชสีมา สุรินทร์ อุบลราชธานี มุกดาหาร อุดรธานี เชียงราย พะเยา สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และพัทลุง

 โดยให้ปรับเปลี่ยนพื้นที่มีความเหมาะสมน้อย (S3) และพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) สำหรับการปลูกข้าวมาเลี้ยงกระบือทดแทน จำนวน 1,400 ตัว และโคเนื้อ 600 ตัว เกษตรกรรวม 400 ราย นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้ปลูกพืชอาหารสัตว์ รวม 2,000 ไร่ หรือรายละ 5 ไร่ ทางกรมปศุสัตว์จะส่งมอบโคและกระบือตั้งท้องหรือติดลูกให้เกษตรกรไปเลี้ยงรายละ 5 ตัว แต่ต้องส่งคืนลูกโคและกระบือเพศเมียอายุ 18 เดือน 5 ตัวแรกของฝูงภายในระยะเวลา 5 ปี ส่วนที่เหลือจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเกษตรกร

         ขณะที่ นายประสิทธิ์ บุญเฉย นายกสมาคมชาวนาไทย มองว่า ความจริงชาวนาควรเปลี่ยนวิถีชีวิตนานแล้ว หากมีที่นาควรแบ่งส่วนหนึ่งไว้ปลูกพืชอายุสั้นที่มีรายทุกวัน มาจุนเจือรายจ่ายประจำวัน เพราะกว่าจะขายข้าวได้ใช้เวลานาน ชาวนาต้องกู้ยืมมาใช้จ่าย พอเก็บเกี่ยวและขายข้าวต้องนำเงินจ่ายหนี้จนแทบไม่เหลือ สุดท้ายต้องกู้อีก ส่วนจะให้เปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะในการทำนาให้เกษตรกรรมอย่างอื่น ต้องคิดให้รอบคอบ เพราะความไม่คุ้นเคยกับอาชีพใหม่ จะนำพาให้เกษตรกรจนลงถึงขนาดไม่มีข้าวกินก็ได้

        “นโยบายดี การปฏิบัติจะดีหรือเปล่า ต้องเข้าใจชาวนาไทยด้วย ผมอยู่กับชาวมาตลอดชีวิต ถ้าจะช่วยเหลือด้วยการให้เงิน ไม่นานก็หมดต้องช่วยโดยวิธีอื่น ขุดสระ ซื้ออุปกรณ์ที่จำเป็น ที่สำคัญรัฐบาลต้องชัดเจน จะทำอะไร ขายที่ไหน ราคาเท่าไร ชาวนาไม่มีประสบการณ์เลี้ยงสัตว์ถ้าตาย จะทำอย่างไร ดีไม่ได้อาจจนกว่าเก่าอีก” นายประสิทธิ์ ให้ข้อคิด

        เป็นอีกหมุมหนึ่งที่ต้องคิดอย่างรอบ แม้นโยบายดี แต่หากปฏิบัติไม่ได้ ขาดความชัดเจน อาจทำให้เสียงบประมาณ และยังซ้ำเติมให้ชาวนาจนกว่าเก่าอีก

ที่มา http://www.komchadluek.net/news/agricultural/239954

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สวนกล้วยไม้แย้มประยูร จ.พระนครศรีอยุธยา

พระนครศรีอยุธยา 5 ม.ค.-เกษตรกรชาว จ.พระนครศรีอยุธยา เริ่มต้นปลูกกล้วยไม้เพียง 2 ไร่ ได้ผลดีมีลูกค้าทั้งในประเทสและนอกประเทศเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนขยายเป็น 100 ไร่   คุณลุงมานิตย์ แย้มประยูร เกษตรกร วัย 76 ปี เริ่มต้นจากใจรักใน กล้วยไม้ ลงทุน ปลูกกล้วยไม้ กับเงินทั้งหมดที่มีอยู่ 4,000 บาท บนที่ดิน 2 ไร่ เพราะความขยัน อดทนทำให้คุณลุงมีลูกค้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนสามารถขยายจาก 2 ไร่ เป็น 100 ไร่ พัฒนาขยายสายพันธุ์ใหม่จนสร้างชื่อเสียงระดับโลก สร้างรายได้หลักแสนบาทต่อเดือน   คุณลุงมานิตย์ บอกว่า ปกติ กล้วยไม้ นิยมขยายพันธุ์โดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ หรือเพาะเมล็ด เพราะทำให้เกิดต้นกล้าจำนวนมาก เติบโตสม่ำเสมอ และปลอดโรคใช้เวลาในการเติบโตแตกต่างกันประมาณ 1 -3 ปี แล้วแต่ชนิดพันธุ์และสูตรอาหาร   ตลาดส่งออกกล้วยไม้ตัดดอกที่สำคัญ ได้แก่ ตลาดยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น เวียดนามและเมียนมาร์ ซึ่งสีสันที่แต่ละภูมิภาคชื่นชอบก็จะแตกต่างกันไป อย่างยุโรปจะชื่นชอบกล้วยไม้สีแดง ส่วนตลาดญี่ปุ่นจะชื่นชอบกล้วยไม้สีม่วง ขณะที่การเปิดประชาคมอาเซียนเป็นอีกโอกาสในการขยายตลาดของ กล้วยไม้ไทย ...

เกษตรอินทรีย์ : ลู่ทางใหม่ของเกษตรกรไทย

เกษตรอินทรีย์ : ลู่ทางใหม่ของเกษตรกรไทย การทำเกษตรกรรมของไทยมักเผชิญปัญหาการขาดทุนตามที่ เครื่องปั่นไฟ ราคาสูงขึ้น ซึ่งหนึ่งในที่มาของปัญหานี้เกิดจากรายจ่ายในการจัดซื้อสารเคมีจำนวนมาก มาใช้เพื่อเร่งผลผลิต อย่างไรก็ตาม หากผลผลิตที่ได้มีราคาตกต่ำ การขาดทุนก็ยังคงมีอยู่อย่างไม่จบไม่สิ้น ในล่าสุดกระแสการดูแลรักษาสุขภาพของประชากรโลกเริ่มมีมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคหันมาใส่ใจในการเลือกซื้ออาหารที่ปลอดภัยและปราศจากสารเคมีต่าง ๆ ที่เป็นพิษต่อร่างกาย ด้วยเหตุนี้เกษตรกรหลายรายจึงคิดหาวิธีการทำเกษตรกรรม แนวใหม่ เรียกว่า เกษตรอินทรีย์ (Organic Agriculture) โดยใช้ เครื่องปั่นไฟมือสอง เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตและได้ผลผลิตที่เป็นที่ต้องการของตลาด โดยการพยายามประยุกต์ใช้ธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดการใช้ปัจจัยการผลิตภายนอกและหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ ซึ่งวิถีทางการทำเกษตรแนวนี้จะไม่เป็นอันตรายต่อทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค เกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย สหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (International Federation of Agriculture : IFOM) ให้คำนิยามของเกษตรอินทรีย์ว่าเป็น “ระบบการเกษตรที่ผลิตอาหารและเส้นใ...

ตอนที่2 วิธีการปลูกมะละกอพันธุ์ไหนดีจึงจะมีตลาดขาย

ตอนที่2 วิธีการปลูกมะละกอพันธุ์ไหนดีจึงจะมีตลาดขาย -มะละกอพันธุ์ครั่ง เป็นมะละกอดิบหรือส้มตำพันธุ์ใหม่ที่ใช้ยาฆ่าแมลงและใช้ เครื่องพ่นยา น้อย และที่มีผู้รายงานข่าวทำข่าวกันมากจนทำให้เกษตรกรปลูกกันในหลายภาค โดยชูจุดดีตรงที่เนื้อกรอบ หอม หวาน อร่อย หลังเก็บจากต้นแล้ว สดอยู่ได้นานกว่าพันธุ์อื่น 5-6 วันก็ยังไม่เหี่ยว และบอกว่าทนทานไวรัสจุดวงแหวนได้ดี(อันนี้จริงเปล่าไม่รู้) แต่ข้อเสียก็คือ ผลมีร่องทำให้เวลาปอกเปลือก เปลือกสีเขียวจะติดอยู่ในร่องนั้น ขูดเส้นยาก ตอนนี้เริ่มมีปัญหาด้านตลาดแต่นักค้นคว้าก็ยังเพิ่งเปิดตัวครั่งพันธุ์ใหม่เนื้อเหลืองไปเมื่อเดือนที่แล้วอีกซึ่งครั่งเนื้อเหลืองจะทำให้เส้นส้มตำน่ากินมากขึ้น นักข่าวประโคมข่าวอีกเช่นเดิมแต่ปัญหาร่องที่ผลจะทำให้แม่ค้ายอมรับได้แค่ไหนต้องติดตามกันต่อไป