ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ลุยใช้ 'Q Restaurant' ตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบ

มกอช.จัดโครงการใช้ระบบ Q Restaurant ตามสอบกระบวนการผลิตวัตถุดิบจากโต๊ะอาหารสู่แหล่งผลิต หวังช่วยขยายตลาดให้กับเกษตรกรทางอ้อม คาดปี 59 ขยายร้านค้าร่วมโครงการ 2,000 ราย...
น.ส.ดุจเดือน ศศะนาวิน เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กล่าวว่า เพื่อสร้างความมั่นใจในคุณภาพวัตถุดิบสินค้าเกษตรที่มาปรุงอาหารเสิร์ฟขึ้นโต๊ะ ดังนั้น ปี 2559 มกอช. จึงจัดโครงการ Q Restaurant พร้อมนำเทคโนโลยี QR Code มาใช้ตามสอบที่มาวัตถุดิบ ซึ่งผ่านการรับรองความปลอดภัยจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยระบบ Q Restaurant ประเทศในแถบยุโรป อเมริกา และญี่ปุ่น นำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย เพื่อให้คนกินรู้ว่าวัตถุดิบที่เอามาประกอบอาหารมีแหล่งที่มาจากเกษตรกรรายใด โดยการตามสอบทำได้ง่าย เพียงใช้สมาร์ทโฟน สแกน QR Code ที่กำกับบนรายการอาหารจะรู้ว่า เมนูที่สั่งมารับประทานมีแหล่งที่มา และผ่านการรับรองจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์หรือไม่
ทั้งนี้ ทุกวันนี้ ผู้รับประทานจะเลือกร้านอาหารจากรสชาติ และความอร่อย มากกว่าดูแหล่งผลิตวัตถุดิบว่า มีคุณภาพมาตรฐานเพียงใด แทบไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่า ก่อนจะมาประกอบอาหารใส่จานเสิร์ฟมีการดูแลจัดการอย่างไร แตกต่างกับในแถบยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น จะดูวัตถุดิบอาหารตั้งแต่แหล่งปลูกกระทั่งถึงปาก
น.ส.ดุจเดือน กล่าวต่อว่า สำหรับระบบ Q Restaurant ไทยเป็นประเทศแรกที่นำระบบดังกล่าวเข้ามาใช้ ทำให้สินค้าเกษตรไทย ก้าวล้ำหน้าในกลุ่มชาติอาเซียน และการที่ มกอช. นำร่องโครงการ QR Code จากร้านค้า เพราะต้องการให้รายเล็กๆ เกิดความเข้มแข็ง อย่างฟาร์มหอยหวานซันเซท จ.ชลบุรี ได้รับความนิยมในหมู่ผู้รับประทานมากกว่าอาหารทะเล ซึ่งเมื่อผู้รับประทานมั่นใจมีการบอกปากต่อปาก ไม่เพียงแค่พัฒนาคุณภาพ กระบวนการผลิต แต่ยังช่วยขยายตลาดให้กับเกษตรกรได้เป็นอย่างดี ส่วนการควบคุมร้านอาหารที่เข้าร่วมโครงการนั้น มกอช. จะมีทีมเจ้าหน้าที่คอยสุ่มตรวจ หากร้านไหนมีการสวมรอย จะยกเลิกการใช้ระบบดังกล่าว พร้อมแจ้งขึ้นเว็บไซต์ มกอช. ทันที โดยตลอดระยะเวลา 6 ปี มีร้านค้าทั่วประเทศผ่านการรับรอง 1,613 แห่ง อยู่ในช่วงดำเนินการตรวจรับรองอีก  344 แห่ง และคาดว่าต้นปี 2559 จะได้ร้านค้าเข้าร่วมโครงการ 2,000 แห่งแน่นอน.
ที่มา http://www.thairath.co.th/content/558896

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สวนกล้วยไม้แย้มประยูร จ.พระนครศรีอยุธยา

พระนครศรีอยุธยา 5 ม.ค.-เกษตรกรชาว จ.พระนครศรีอยุธยา เริ่มต้นปลูกกล้วยไม้เพียง 2 ไร่ ได้ผลดีมีลูกค้าทั้งในประเทสและนอกประเทศเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนขยายเป็น 100 ไร่   คุณลุงมานิตย์ แย้มประยูร เกษตรกร วัย 76 ปี เริ่มต้นจากใจรักใน กล้วยไม้ ลงทุน ปลูกกล้วยไม้ กับเงินทั้งหมดที่มีอยู่ 4,000 บาท บนที่ดิน 2 ไร่ เพราะความขยัน อดทนทำให้คุณลุงมีลูกค้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนสามารถขยายจาก 2 ไร่ เป็น 100 ไร่ พัฒนาขยายสายพันธุ์ใหม่จนสร้างชื่อเสียงระดับโลก สร้างรายได้หลักแสนบาทต่อเดือน   คุณลุงมานิตย์ บอกว่า ปกติ กล้วยไม้ นิยมขยายพันธุ์โดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ หรือเพาะเมล็ด เพราะทำให้เกิดต้นกล้าจำนวนมาก เติบโตสม่ำเสมอ และปลอดโรคใช้เวลาในการเติบโตแตกต่างกันประมาณ 1 -3 ปี แล้วแต่ชนิดพันธุ์และสูตรอาหาร   ตลาดส่งออกกล้วยไม้ตัดดอกที่สำคัญ ได้แก่ ตลาดยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น เวียดนามและเมียนมาร์ ซึ่งสีสันที่แต่ละภูมิภาคชื่นชอบก็จะแตกต่างกันไป อย่างยุโรปจะชื่นชอบกล้วยไม้สีแดง ส่วนตลาดญี่ปุ่นจะชื่นชอบกล้วยไม้สีม่วง ขณะที่การเปิดประชาคมอาเซียนเป็นอีกโอกาสในการขยายตลาดของ กล้วยไม้ไทย ...

เกษตรอินทรีย์ : ลู่ทางใหม่ของเกษตรกรไทย

เกษตรอินทรีย์ : ลู่ทางใหม่ของเกษตรกรไทย การทำเกษตรกรรมของไทยมักเผชิญปัญหาการขาดทุนตามที่ เครื่องปั่นไฟ ราคาสูงขึ้น ซึ่งหนึ่งในที่มาของปัญหานี้เกิดจากรายจ่ายในการจัดซื้อสารเคมีจำนวนมาก มาใช้เพื่อเร่งผลผลิต อย่างไรก็ตาม หากผลผลิตที่ได้มีราคาตกต่ำ การขาดทุนก็ยังคงมีอยู่อย่างไม่จบไม่สิ้น ในล่าสุดกระแสการดูแลรักษาสุขภาพของประชากรโลกเริ่มมีมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคหันมาใส่ใจในการเลือกซื้ออาหารที่ปลอดภัยและปราศจากสารเคมีต่าง ๆ ที่เป็นพิษต่อร่างกาย ด้วยเหตุนี้เกษตรกรหลายรายจึงคิดหาวิธีการทำเกษตรกรรม แนวใหม่ เรียกว่า เกษตรอินทรีย์ (Organic Agriculture) โดยใช้ เครื่องปั่นไฟมือสอง เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตและได้ผลผลิตที่เป็นที่ต้องการของตลาด โดยการพยายามประยุกต์ใช้ธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดการใช้ปัจจัยการผลิตภายนอกและหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ ซึ่งวิถีทางการทำเกษตรแนวนี้จะไม่เป็นอันตรายต่อทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค เกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย สหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (International Federation of Agriculture : IFOM) ให้คำนิยามของเกษตรอินทรีย์ว่าเป็น “ระบบการเกษตรที่ผลิตอาหารและเส้นใ...

ตอนที่2 วิธีการปลูกมะละกอพันธุ์ไหนดีจึงจะมีตลาดขาย

ตอนที่2 วิธีการปลูกมะละกอพันธุ์ไหนดีจึงจะมีตลาดขาย -มะละกอพันธุ์ครั่ง เป็นมะละกอดิบหรือส้มตำพันธุ์ใหม่ที่ใช้ยาฆ่าแมลงและใช้ เครื่องพ่นยา น้อย และที่มีผู้รายงานข่าวทำข่าวกันมากจนทำให้เกษตรกรปลูกกันในหลายภาค โดยชูจุดดีตรงที่เนื้อกรอบ หอม หวาน อร่อย หลังเก็บจากต้นแล้ว สดอยู่ได้นานกว่าพันธุ์อื่น 5-6 วันก็ยังไม่เหี่ยว และบอกว่าทนทานไวรัสจุดวงแหวนได้ดี(อันนี้จริงเปล่าไม่รู้) แต่ข้อเสียก็คือ ผลมีร่องทำให้เวลาปอกเปลือก เปลือกสีเขียวจะติดอยู่ในร่องนั้น ขูดเส้นยาก ตอนนี้เริ่มมีปัญหาด้านตลาดแต่นักค้นคว้าก็ยังเพิ่งเปิดตัวครั่งพันธุ์ใหม่เนื้อเหลืองไปเมื่อเดือนที่แล้วอีกซึ่งครั่งเนื้อเหลืองจะทำให้เส้นส้มตำน่ากินมากขึ้น นักข่าวประโคมข่าวอีกเช่นเดิมแต่ปัญหาร่องที่ผลจะทำให้แม่ค้ายอมรับได้แค่ไหนต้องติดตามกันต่อไป