ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ปลูกเมลอนสู้แล้ง แค่ 72 ตร.ม. กำไรดีกว่าปลูกข้าว 25 ไร่

  วันนี้ (28 ธ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างที่นายสุรพล ทองเที่ยง เกษตรจังหวัดพิจิตร และนายปราโมทย์ ยอดแก้ว ปฏิรูปที่ดินจังหวัดพิจิตร พร้อมด้วยนายเทวุษย์ บริรักษ์สันติกุล นายอำเภอบึงนาราง ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าในการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชใช้น้ำน้อยแก้ไขปัญหาวิกฤตภัยแล้งทดแทนการทำนาปรัง ที่หมู่ 9 บ้านหนองจิกสี ต.บึงนาราง อ.บึงนาราง จ.พิจิตร โดยพบว่าชาวนาในหมู่บ้านนี้หันมาปลูกผักนานาชนิดส่งขายตลาดสี่มุมเมือง และตลาดไท มีรถกระบะบรรทุกนำพืชผัก คะน้า มะระ มะเขือยาว แตงกวา มะเขือเปราะ ฯลฯ ส่งขายวันละ 20 คันรถ สร้างรายได้เข้าหมู่บ้านวันละกว่า 2 แสนบาท
      
       นอกจากนี้ยังพบว่า นายธนนน ธีระวงศ์ไพศาลกุล อายุ 37 ปี จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อยู่บ้านเลขที่ 401/4 หมู่ 9 บ้านหนองจิกสี อ.บึงนาราง ที่กลับมายึดอาชีพทำการเกษตรตามรอยบรรพบุรุษที่บ้านเกิด และรู้ดีถึงสภาพปัญหาภัยแล้ง-ราคาข้าวที่ตกต่ำ หันมาปลูกเมลอนปลอดสารพิษ ในโรงเรือนขนาด 6x12 เมตร หรือ 72 ตารางเมตร ใช้ระบบน้ำหยด จนสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ โดยภายในโรงเรือนของนายธนนน ปลูกเมลอนได้ 316 ต้น คาดว่าจะได้ผลผลิต 270 ลูก แต่ละลูกมีน้ำหนักประมาณ 1.8 กก.-2.5 กก. ขณะนี้จำหน่ายอยู่ กก.ละ 90 บาท ใช้ระยะเวลาประมาณ 75-85 วัน ก็สามารถเก็บผลผลิตออกจำหน่ายได้ โดยในช่วงนี้ใกล้เทศกาลปีใหม่ ทำให้มีผู้สั่งจองซื้อล่วงหน้าไปหมดแล้ว และมีออเดอร์เข้ามาไม่ขาดสาย
      
       นายเทวุษย์ บริรักษ์สันติกุล นายอำเภอบึงนาราง ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมว่า ชาวบ้านหนองจิกสีเริ่มเปลี่ยนวิถีชีวิต จากอดีตที่ทำนาก็หันมาปลูกพืชผักที่ใช้น้ำน้อย ลดพื้นที่การทำนา มาปลูกอ้อย และทำการเกษตรอย่างอื่นกันมากขึ้น กรณีนายธนนนที่ปลูกเมลอนถือเป็นเกษตรรุ่นใหม่หัวก้าวหน้าที่ใช้พื้นที่เพียง 72 ตารางเมตร ใช้เวลาแค่ 75-85 วันก็สร้างรายได้ 30,000-40,000 บาทต่อ 1 โรงเรือน เมื่อเปรียบเทียบกับการทำนา 25 ไร่ ถือว่ามีรายได้มากกว่า แถมใช้น้ำน้อยกว่าและมีตลาดที่แน่นอน ถือเป็นแบบอย่างของเกษตรกรในจุดอื่นๆ อีกด้วย
      
       สำหรับท่านใดที่สนใจต้องการซื้อพืชผักปลอดสารพิษของหมู่บ้านหนองจิกสี สามารถติดต่อได้ที่ผู้ใหญ่บุญส่ง โทร. 08-60541698, นายธนนน เกษตรกรผู้ปลูกเมล่อน โทร 09-3341-2146 หรือติดต่อผ่านสำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตรโทร 0-5661-3423 ต่อ 103 ได้ในวัน-เวลาราชการ
หนุ่มพิจิตรลดทำนา ปลูก “เมลอน” สู้แล้ง แค่ 72 ตร.ม. กำไรดีกว่าปลูกข้าว 25 ไร่
       
หนุ่มพิจิตรลดทำนา ปลูก “เมลอน” สู้แล้ง แค่ 72 ตร.ม. กำไรดีกว่าปลูกข้าว 25 ไร่
       
หนุ่มพิจิตรลดทำนา ปลูก “เมลอน” สู้แล้ง แค่ 72 ตร.ม. กำไรดีกว่าปลูกข้าว 25 ไร่
       
หนุ่มพิจิตรลดทำนา ปลูก “เมลอน” สู้แล้ง แค่ 72 ตร.ม. กำไรดีกว่าปลูกข้าว 25 ไร่
       
หนุ่มพิจิตรลดทำนา ปลูก “เมลอน” สู้แล้ง แค่ 72 ตร.ม. กำไรดีกว่าปลูกข้าว 25 ไร่
       
หนุ่มพิจิตรลดทำนา ปลูก “เมลอน” สู้แล้ง แค่ 72 ตร.ม. กำไรดีกว่าปลูกข้าว 25 ไร่
       
หนุ่มพิจิตรลดทำนา ปลูก “เมลอน” สู้แล้ง แค่ 72 ตร.ม. กำไรดีกว่าปลูกข้าว 25 ไร่
       
หนุ่มพิจิตรลดทำนา ปลูก “เมลอน” สู้แล้ง แค่ 72 ตร.ม. กำไรดีกว่าปลูกข้าว 25 ไร่

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สวนกล้วยไม้แย้มประยูร จ.พระนครศรีอยุธยา

พระนครศรีอยุธยา 5 ม.ค.-เกษตรกรชาว จ.พระนครศรีอยุธยา เริ่มต้นปลูกกล้วยไม้เพียง 2 ไร่ ได้ผลดีมีลูกค้าทั้งในประเทสและนอกประเทศเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนขยายเป็น 100 ไร่   คุณลุงมานิตย์ แย้มประยูร เกษตรกร วัย 76 ปี เริ่มต้นจากใจรักใน กล้วยไม้ ลงทุน ปลูกกล้วยไม้ กับเงินทั้งหมดที่มีอยู่ 4,000 บาท บนที่ดิน 2 ไร่ เพราะความขยัน อดทนทำให้คุณลุงมีลูกค้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนสามารถขยายจาก 2 ไร่ เป็น 100 ไร่ พัฒนาขยายสายพันธุ์ใหม่จนสร้างชื่อเสียงระดับโลก สร้างรายได้หลักแสนบาทต่อเดือน   คุณลุงมานิตย์ บอกว่า ปกติ กล้วยไม้ นิยมขยายพันธุ์โดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ หรือเพาะเมล็ด เพราะทำให้เกิดต้นกล้าจำนวนมาก เติบโตสม่ำเสมอ และปลอดโรคใช้เวลาในการเติบโตแตกต่างกันประมาณ 1 -3 ปี แล้วแต่ชนิดพันธุ์และสูตรอาหาร   ตลาดส่งออกกล้วยไม้ตัดดอกที่สำคัญ ได้แก่ ตลาดยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น เวียดนามและเมียนมาร์ ซึ่งสีสันที่แต่ละภูมิภาคชื่นชอบก็จะแตกต่างกันไป อย่างยุโรปจะชื่นชอบกล้วยไม้สีแดง ส่วนตลาดญี่ปุ่นจะชื่นชอบกล้วยไม้สีม่วง ขณะที่การเปิดประชาคมอาเซียนเป็นอีกโอกาสในการขยายตลาดของ กล้วยไม้ไทย ...

เกษตรอินทรีย์ : ลู่ทางใหม่ของเกษตรกรไทย

เกษตรอินทรีย์ : ลู่ทางใหม่ของเกษตรกรไทย การทำเกษตรกรรมของไทยมักเผชิญปัญหาการขาดทุนตามที่ เครื่องปั่นไฟ ราคาสูงขึ้น ซึ่งหนึ่งในที่มาของปัญหานี้เกิดจากรายจ่ายในการจัดซื้อสารเคมีจำนวนมาก มาใช้เพื่อเร่งผลผลิต อย่างไรก็ตาม หากผลผลิตที่ได้มีราคาตกต่ำ การขาดทุนก็ยังคงมีอยู่อย่างไม่จบไม่สิ้น ในล่าสุดกระแสการดูแลรักษาสุขภาพของประชากรโลกเริ่มมีมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคหันมาใส่ใจในการเลือกซื้ออาหารที่ปลอดภัยและปราศจากสารเคมีต่าง ๆ ที่เป็นพิษต่อร่างกาย ด้วยเหตุนี้เกษตรกรหลายรายจึงคิดหาวิธีการทำเกษตรกรรม แนวใหม่ เรียกว่า เกษตรอินทรีย์ (Organic Agriculture) โดยใช้ เครื่องปั่นไฟมือสอง เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตและได้ผลผลิตที่เป็นที่ต้องการของตลาด โดยการพยายามประยุกต์ใช้ธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดการใช้ปัจจัยการผลิตภายนอกและหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ ซึ่งวิถีทางการทำเกษตรแนวนี้จะไม่เป็นอันตรายต่อทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค เกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย สหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (International Federation of Agriculture : IFOM) ให้คำนิยามของเกษตรอินทรีย์ว่าเป็น “ระบบการเกษตรที่ผลิตอาหารและเส้นใ...

ตอนที่2 วิธีการปลูกมะละกอพันธุ์ไหนดีจึงจะมีตลาดขาย

ตอนที่2 วิธีการปลูกมะละกอพันธุ์ไหนดีจึงจะมีตลาดขาย -มะละกอพันธุ์ครั่ง เป็นมะละกอดิบหรือส้มตำพันธุ์ใหม่ที่ใช้ยาฆ่าแมลงและใช้ เครื่องพ่นยา น้อย และที่มีผู้รายงานข่าวทำข่าวกันมากจนทำให้เกษตรกรปลูกกันในหลายภาค โดยชูจุดดีตรงที่เนื้อกรอบ หอม หวาน อร่อย หลังเก็บจากต้นแล้ว สดอยู่ได้นานกว่าพันธุ์อื่น 5-6 วันก็ยังไม่เหี่ยว และบอกว่าทนทานไวรัสจุดวงแหวนได้ดี(อันนี้จริงเปล่าไม่รู้) แต่ข้อเสียก็คือ ผลมีร่องทำให้เวลาปอกเปลือก เปลือกสีเขียวจะติดอยู่ในร่องนั้น ขูดเส้นยาก ตอนนี้เริ่มมีปัญหาด้านตลาดแต่นักค้นคว้าก็ยังเพิ่งเปิดตัวครั่งพันธุ์ใหม่เนื้อเหลืองไปเมื่อเดือนที่แล้วอีกซึ่งครั่งเนื้อเหลืองจะทำให้เส้นส้มตำน่ากินมากขึ้น นักข่าวประโคมข่าวอีกเช่นเดิมแต่ปัญหาร่องที่ผลจะทำให้แม่ค้ายอมรับได้แค่ไหนต้องติดตามกันต่อไป